วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556

คนที่ประสบความสำเร็จเริ่มต้นจากความกล้าก่อนเป็นอันดับแรก




คนที่ประสบความสำเร็จไม่ว่าจะอยู่ในแวดวงใด เขามักเริ่มต้นจากความกล้าก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งความกล้าในที่นี้มีหลายประการที่คนประสบความสำเร็จจะต้องกล้าเริ่มต้น คือ
 
Idea กล้าคิด คนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่จะเป็นคนที่กล้าคิด และคนที่ประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ มักจะคิดอะไรไม่เหมือนคนอื่น  เขาเหล่านั้นจะกล้าคิดต่าง คิดแปลก จากคนทั่วไป เช่น
- สมัยอดีต รถยนต์สมัยแรกๆ มักใช้แกนเหล็กหมุนเวลาที่จะสตาร์ทเครื่อง ไม่เหมือนกันปัจจุบันที่สตาร์ทรถยนต์ง่ายๆ ด้วยการใช้มือหมุนกุญแจบิดสตาร์ท  เช้าวันหนึ่ง นายชาร์ลส  ได้ยืนสตาร์ทรถยนต์ด้วยแกนเหล็กที่หน้าบ้าน แต่ปรากฏว่ากระบอกสูบไม่หมุน นายชาร์ลส จึงออกแรงสะบัดแกนเหล็กเพื่อให้กระบอกสูบหมุนปรากฏว่า แกนเหล็กนั้นไปดีดใส่แขนของเขาจนหัก เขาลงไปนอนข้างล่างกับพื้นด้วยความเจ็บปวด หลังจากนั้น เขาก็กล้าที่จากคิดแตกต่างจากคนอื่นๆ เขาคิดว่าจะทำอย่างไรให้การสตาร์ทรถยนต์ง่ายขึ้น เพราะหากเป็นเช่นนี้ อาจเกิดอุบัติเหตุเหมือนกับเขากับคนอื่นๆได้  จึงเป็นที่มาของการสตาร์ทรถยนต์ ด้วยการใช้กุญแจบิดสตาร์ท นี่ก็เพราะการกล้าคิดของ นายชาร์ลส จึงทำให้พวกเราได้สตาร์ทรถยนต์ได้ง่ายขึ้น อีกทั้งช่วยลดอุบัติเหตุที่เกิดจากการสตาร์ทรถยนต์อีกด้วย

Imagine กล้าจินตนาการ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวไว้ว่า จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ คนปกติธรรมดาในยุคปัจจุบันได้เรียนหนังสือกันเกือบทุกคน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตไม่ว่าการทำงาน หน้าที่ สาเหตุหนึ่งเกิดจาก การขาดจินตนาการ คนปกติธรรมดา มักจะทำอะไรเหมือนคนอื่นๆ ไม่กล้าที่จะลองจินตนาการ ไม่กล้าที่จะคิดสร้างสรรค์สิ่งแปลกๆใหม่ๆขึ้นมาในชีวิต

Action กล้าลงมือทำ เมื่อมีความคิดแล้ว มีจินตนาการแล้ว แต่ขาดซึ่งการลงมือทำ สิ่งต่างๆที่คิด ที่จินตนาการก็ไม่สามารถเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้ ดังนั้นจงกล้าที่จะลงมือทำ ลงมือปฏิบัติ สิ่งต่างๆจึงจะเกิดขึ้น เหมือนดังที่เราคิดและเราจินตนาการ

Develop กล้าพัฒนา เมื่อลงมือทำไปแล้ว แน่นอนว่าจะต้องเกิดการผิดพลาด บกพร่องในสิ่งที่เราทำ บุคคลที่ประสบความสำเร็จมักกล้าที่จะพัฒนา กล้าเปลี่ยนแปลง แผนต่างๆที่คิดไว้ ที่จินตนาการไว้ เพื่อให้การทำงานนั้นเกิดความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

Control กล้าที่จะควบคุม คนที่ประสบความสำเร็จส่วนมากแล้ว มักจะเป็นคนที่ควบคุมอารมณ์ ควบคุมตนเอง อยู่เสมอ เขาจะเป็นคนที่มีวินัยในการทำสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะวินัยในการทำงาน เช่น นักเขียนที่ประสบความสำเร็จเขาจะจัดสรรเวลาในการทำงานเขียน แล้วเขาก็จะลงมือเขียนตามแผนการที่เขาวางไว้ โดยที่ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง ฉะนั้น เขาจึงมีผลงานการเขียนออกมาสู่สายตาผู้อ่านอย่างสม่ำเสมอ

Change กล้าเปลี่ยนแปลง  คนเราโดยมากมักไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง แต่คนเราจะเจริญก้าวหน้าก็ด้วยเพราะการเปลี่ยนแปลง หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่ต้องการประสบความสำเร็จท่านต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง แล้วท่านจะประสบความสำเร็จ  ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางความคิด เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน

หากว่าท่านมีความกล้าตามข้อความข้างต้น กระผมเชื่อว่า ท่านจะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน จงเดินทางเข้าไปหาความสำเร็จ แทนการที่จะนั่งรอความสำเร็จมาหาท่าน หากว่าท่านต้องการไปเที่ยวภูเขาที่สวยงามสักลูก ขอให้ท่านจงเริ่มต้นออกเดินทาง  แทนที่ท่านจะนั่งรอ นอนรอ ให้ภูเขาลูกนั้น เคลื่อนตัวมาหาท่าน จงกล้าที่จะเริ่มต้นแล้วท่านจะประสบความสำเร็จ 
การทำงานเป็น " ทีม - Team "
 การทำงานในสมัยปัจจุบันหรือการบริหารงานแนวใหม่นี้จะทำแบบ'ข้ามาคนเดียว"หรือ "วันแมนโชว์" หรือ"ศิลปินเดี่ยว" หรือ "อัศวินม้าขาว" หรือ อื่น ๆ ดูจะเป็นไปได้ยากการทำงานเป็น " ทีม - Team "ทีม (Team) หมายถึง บุคคลที่ทำงานร่วมกันอย่างประสานงานภายในกลุ่มกล่าวคือ เป็นการรวมตัวของกลุ่มคนที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน ในการทำงานเพื่อให้เกิดผลสำเร็จทีมงาน (Team Work) หมายถึง กลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์กันค่อนข้างจะใกล้ชิดและ
คงความสัมพันธ์อยู่ค่อนข้างจะถาวรซึ่งประกอบด้วยหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงานโดยร่วมกันทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของทีมงานการทำงานเป็นทีมเป็นความร่วมมือร่วมใจของบุคคล เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกันโดยต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ (3P) ได้แก่มีวัตถุประสงค์ (Purpose) ต้องชัดเจนมีการจัดลำดับความสำคัญ (Priority) ในการทำงานมีผลการทำงาน (Performance)ความแตกต่างระหว่างการทำงานแบบทีมและกลุ่ม (Teams vs Groups )การทำงานแบบกลุ่ม (Work group) คือ การรวมกลุ่มที่มีกิจกรรมร่วมเพื่อใช้ข้อมูลร่วมกันและช่วยในการตัดสิ้นใจให้แก่สมาชิกในกลุ่มที่จะทำงานภายในขอบข่ายที่รับผิดชอบของแต่ละคนนั้น ในการทำงานของกลุ่มไม่จำเป็นที่จะต้องส่งเสริมซึ่งกันและกัน ดังนั้นจึงไม่มีการเชื่อมโยงทรัพยากรและใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิผลในทางบวก

 นั่นคือเราใส่การทำงานของแต่ละคนเข้าไปผลงานที่ออกรวมกันแล้วจะได้เท่ากับที่ใส่เข้าไปหรืออาจจะน้อยกว่าก็ได้การทำงานแบบทีม ( Work teams) เป็นการทำงานร่วมกันและส่งเสริมกันไปในทางบวกผลงานรวมของทีมที่ได้ออกมาแล้วจะมากกว่าผลงานรวมของแต่ละคนมารวมกัน
ชนิดของทีมงานการแบ่งทีมในองค์กรสามารถที่จะแบ่งประเภท ตามวัตถุประสงค์ได้ 4 รูปแบบคือ

1. ทีมแก้ปัญหา (Problem - Solving Teams) ประกอบด้วยกลุ่มของพนักงาน และผู้บริหารซึ่งเข้ามารวมกลุ่มด้วยความสมัครใจ และประชุมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอเพื่ออภิปรายหาวิธีการสำหรับการแก้ปัญหา โดยทั่วไปทีมแก้ปัญหาทำหน้าที่เพียงให้คำแนะนำเท่านั้น แต่จะไม่มีอำนาจที่จะทำให้เกิดการกระทำ ตามคำแนะนำตัวอย่างของทีมแก้ปัญหาที่นิยมทำกัน คือ ทีม QC (Quality Circles)
2. ทีมบริหารตนเอง (Self - Managed Teams) หมายถึง ทีมที่สมาชิกทุกคนล้วนรับผิดชอบต่อลักษณะทั้งหมดของการปฏิบัติงานอย่างแท้จริง โดยเป็นอิสระจากฝ่ายบริหารซึ่งสมาชิกจะปฏิบัติงานโดยทั่วไป มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบสำหรับงานทีมบริหารตนเองสามารถที่จะเลือกสมาชิกผู้ร่วมทีม และสามารถให้สมาชิกมีการตรวจสอบซึ่งกันและกัน
3. ทีมที่ทำงานข้ามหน้าที่กัน (Cross - Function Teams) เป็นการประสมประสานข้ามหน้าที่งาน ความสามารถในการดึงทรัพยากรบุคคลผนวกเข้าด้วยกันจากหน้าที่ทางธุรกิจที่แตกต่างกัน เพื่อสร้างสมรรถภาพในด้านความแตกต่าง โดยเป็นการใช้กำลังแรงงาน ตั้งเป็นทีมข้ามหน้าที่ชั่วคราวซึ่งมีลักษณะคล้ายกับคณะกรรมการ(Committees) เข้ามาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน, พัฒนาความคิดใหม่ๆ ร่วมมือกันแก้ปัญหาและทำโครงการที่ซับซ้อน ทีมข้ามหน้าที่ ต้องการเวลามากเพื่อสมาชิกจะต้องเรียนรู้งานที่แตกต่าง ซับซ้อน และต้องใช้เวลาในการสร้างความไว้ใจ และสร้างการทำงานเป็นทีม
เนื่องจาก แต่ละคนมาจากภูมิหลังที่แตกต่างกัน

4. ทีมเสมือนจริง (Virtual Teams) ลักษณะการทำงานจะเป็นทีม แต่สภาพการทำงานจะแยกกันอยู่ ดังนั้นจึงต้องการระบบในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันที่มีประสิทธิภาพซึ่งอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทีมจะมุ่งเน้นความสำเร็จของงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของงานร่วมกัน แต่จะมีการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ด้านความรู้สึกทางสังคมในระดับต่ำ  ข้อควรระวัง : การทำงานเป็นทีมไม่ได้เป็นคำตอบในการแก้ไขปัญหาเสมอไป เนื่องจากการทำงานเป็นทีมต้องใช้เวลาและทรัพยากรมากกว่าการทำงานคนเดียวยกตัวอย่างเช่น
 • ต้องเพิ่มการติดต่อสื่อสารมากขึ้น
 • ต้องบริหารความขัดแย้งระหว่างกัน
 • ต้องมีการจัดการประชุม
 • ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม

อย่างไรก็ตามในบางกรณีผลประโยชน์ที่ได้จากการทำงานเป็นทีมก็จะได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า ดังนั้น ผู้บริหารต้องทำการประเมินว่างานใดควรทำคนเดียว และงานประเภทใดที่ต้องใช้ความร่วมมือของทีมคำถาม 3 ข้อ เพื่อดูว่าควรใช้วิธีการทำงานเป็นทีมในการทำงานหรือไม่
 1. งานนั้นสามารถทำได้ดีขึ้นหรือไม่ หากใช้คนมากกว่าหนึ่งคน
 2. งานนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อทุกคนในกลุ่ม หรือ เพื่อคนใดคนหนึ่ง
 3. การเลือกใช้ประเภทของทีมให้เหมาะสมกับสถานการณ์

การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
1. วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและเป้าหมายที่เห็นพ้องต้องกัน เพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานที่ต้องการทำให้องค์การบรรลุผลสำเร็จที่คาดหวังไว้ในการดำเนินงานให้เป็นไปตามภารกิจขององค์การ
 - การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ดี โดยให้ผู้นำและสมาชิกภายในทีม มีส่วนร่วมในการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและวัตถุประสงค์ร่วมกัน ควรกำหนดจุดมุ่งหมายไว้ให้ชัดเจนที่ผลงานมากกว่าการกระทำ
 - ประโยชน์ของการกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ใช้เป็นเครื่องมือในการรวมพลังในการทำงาน และใช้เป็นเครื่องมือวัดความสำเร็จหรือความล้มเหลวในงาน
 - คุณลักษณะของวัตถุประสงค์ที่ดี คือ เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เข้าใจได้ง่ายสามารถปฏิบัติได้จริง ไม่ขัดต่อข้อบังคับและนโยบายอื่นๆในหน่วยงาน

2. ความเปิดเผยต่อกันและการเผชิญหน้าเพื่อแก้ปัญหา เป็นสิ่งสำคัญต่อการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ สมาชิกในทีมจะต้องการแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา แก้ปัญหาอย่างเต็มใจและจริงใจ การแสดงความเปิดเผยของสมาชิกในทีมจะต้องปลอดภัย พูดคุยถึงปัญหาอย่างสบายใจ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันและทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี โดยมีการเรียนรู้เกี่ยวกับบุคคลอื่นในด้านความต้องการ ความคาดหวังความชอบหรือไม่ชอบ ความรู้ความสามารถ ความสนใจ ความถนัด จุดเด่นจุดด้อยและอารมณ์ รวมทั้งความรู้สึก ความสนใจนิสัยใจคอ

3. การสนับสนุนและความไว้วางใจต่อกัน สมาชิกในทีมจะต้องไว้วางใจซึ่งกันและกันโดยทีละคนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องกลัวว่าได้รับผลร้ายที่จะมีต่อเนื่องมาภายหลัง สามารถทำให้เกิดการเปิดเผยต่อกัน และกล้าที่จะเผชิญหน้าเพื่อแก้ปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดี

4. ความร่วมมือและการให้ความขัดแย้งในทางสร้างสรรค์ ผู้นำกลุ่มหรือทีมจะต้องทำงานอย่างหนักในอันที่จะทำให้เกิดความร่วมมือดังนี้
 4.1 การสร้างความร่วมมือกับบุคคลอื่น ในการสร้างความร่วมมือเพื่ความเข้าใจซึ่งกันและกันและมีบุคคลอยู่สองฝ่ายคือ ผู้ขอความร่วมมือ และผู้ให้ความร่วมมือความร่วมมือจะเกิดขึ้นได้เมื่อฝ่ายผู้ให้เต็มใจและยินดีจะให้ความร่วมมือเหตุผลที่ทำให้ขาดความร่วมมือไม่ช่วยเหลือกัน คือ การขัดผลประโยชน์ ไม่อยากให้คนอื่นได้ดีกว่า สัมพันธภาพไม่ดี วัตถุประสงค์ของทั้งสองฝ่ายไม่ตรงกัน ไม่เห็นด้วยกับวิธีทำงานขาดความพร้อมที่จะร่วมมือ หรืองานที่ขอความร่วมมือนั้น เลี่ยงภัยมากเกินไป หรือเพราะความไม่รับผิดชอบต่อผลงานส่วนรวม
 4.2 การขัดแย้ง หมายถึง ความไม่ลงรอยกันตามความคิด หรือ การกระทำที่เกิดขึ้นระหว่างสองคนขึ้นไป หรือระหว่างกลุ่ม โดยมีลักษณะที่ไม่สอดคล้อง ขัดแย้ง ขัดขวาง ไม่ถูกกันจึงทำให้ความคิดหรือการทำกิจกรรมร่วมกันนั้น เสียหาย หรือดำเนินไปได้ยากไม่ราบรื่นทำให้การทำงานเป็นทีมลดลง นับเป็นปัญหา อุปสรรคที่สำคัญยิ่ง
 - สาเหตุของความขัดแย้ง ผลประโยชน์ขัดกัน
 - ความคิดไม่ตรงกัน หรือ องค์กรขัดแย้งกัน
 - ความรู้ความสามารถต่างกัน ทำให้มีลักษณะการทำงานต่างกัน
 - การเรียนรู้ต่างกัน ประสบการณ์ที่มีมาไม่เหมือนกัน
 - เป้าหมายต่างกัน
 4.3 วิธีแก้ความขัดแย้ง การแก้ความขัดแย้งเป็นเรื่องของทักษะเฉพาะบุคคล การแก้ปัญหาความขัดแย้งในการทำงานเป็นทีม ควรใช้วิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน ไม่พูดในลักษณะที่แปลความหรือมุ่งตัดสินความ ไม่พูดในเชิงวิเคราะห์ ไม่พูดในลักษณะที่แสดงตนเหนือกว่าผู้อื่น หรือไม่พูดในลักษณะที่ทำให้ผู้อื่นเจ็บปวด เสียหน้า อับอาย เจ็บใจ หรือการพยายามพูดหาประเด็นของความขัดแย้ง ไม่กล่าวโจมตีว่าใครผิดใครถูก

5. กระบวนการการทำงาน และการตัดสินใจที่ถูกต้องและเหมาะสม งานที่มีประสิทธิภาพนั้นทุกคนควรจะคิดถึงงานหรือคิดถึงผลงานเป็นอันดับแรก ต่อมาควรวางแผนว่าทำอย่างไรงานจึงจะออกมาดีได้ดังที่เราต้องการ อย่างไรก็ตามก่อนที่จะตัดสินใจนั้นจุดมุ่งหมายควรจะมีความชัดเจนและสมาชิกทุกคน ควรมีความเข้าใจในจุดมุ่งหมายของการทำงานเป็นอย่างดีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนถือเป็นหัวใจสำคัญด้วยเหตุนี้จุดมุ่งหมายควรต้องมีความชัดเจนและสมาชิกทุกคนมีความเข้าใจอย่างดี เพราะจะนำไปสู่แนวทางแนวทางในการทำงานว่าต้องทำอย่างไร จึงจะบรรลุตามเป้าหมายของงาน ให้ได้ผลของงานออกมาได้อย่างดีที่สุด
การตัดสินใจสั่งการเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานของการบริหารงาน ผู้บริหารหรือผู้นำทีมเป็นบุคคลสำคัญในการที่จะมีส่วนในการตัดสินใจ วิธีการที่ผู้บริหารใช้ในการตัดสินใจหลายวิธีคือ ผู้บริหารตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหา โดยไม่ต้องซักถามคนอื่นหรือผู้บริหารจะรับฟังความคิดเห็นก่อนตัดสินใจ กล่าวคือ ผู้บริหารยังคงตัดสินใจด้วยตนเองแต่ขึ้นอยู่กับความคิดเห็นและข้อมูลอื่นๆ ที่ผู้บริหารได้รับมาจากสมาชิกของทีม บางครั้งผู้บริหารอาจจะตัดสินใจร่วมกับทีมงานที่คัดเลือกมาโดยที่ผู้บริหารนำเอาปัญหามาให้ทีมงานอภิปราย แล้วให้ทีมงานตัดสินใจหรือทีมงาน อาจจะมอบหมายการตัดสินใจให้คนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มย่อย
ที่เห็นว่าเหมาะสมก็ได้ ขั้นตอนในการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 4 ขั้นตอนคือ
 1. ทำความเข้าใจอย่างชัดเจนในเหตุผลสำหรับการตัดสินใจ
 2. วิเคราะห์ลักษณะของปัญหาที่จะตัดสินใจ
 3. ตรวจสอบทางเลือกต่างๆ ในการแก้ปัญหาโดยพิจารณาถึงผลที่อาจเกิดตามมาด้วย
 4. การนำเอาผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ
 5. ภาวะผู้นำที่เหมาะสม ผู้นำ หรือ หัวหน้าทีมควรทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะประเด็นที่สำคัญในการทำงานตามบทบาทของผู้นำ คือ การแบ่งงาน กระจายงานให้สมาชิกทุกกลุ่มตามความรู้ ความสามารถ สำหรับสมาชิกของทีมงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้นำ ต้องพร้อมที่จะทำหน้าที่ให้เหมาะสมกับงานที่ได้รับมอบหมาย โดยการให้การสนับสนุนนำทีมให้ประสบความสำเร็จ ส่งเสริมให้มีบรรยากาศที่ดีในการทำงานเป็นทีม มีการพัฒนาบุคลากรและทีมงาน

6. การตรวจสอบทบทวนผลงานและวิธีในการทำงาน ทีมงานที่ดีไม่เพียงแต่ดูจากลักษณะของทีม และบทบาทที่มีอยู่ในองค์กรเท่านั้น แต่ต้องดูวิธีการ ที่ทำงานด้วยการทบทวนงานและทำให้ทีมงานได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ทำรู้จักคิด การได้รับข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของแต่ละคนหรือของทีม

7. การพัฒนาตนเอง การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพพยายามที่จะรวบรวมทักษะต่างๆของแต่ละคน การพัฒนาบุคลากรในองค์การมักจะมองในเรื่องทักษะและความรุ้ที่แต่ละคนมีอยู่แล้ว ก็ทำการฝึกอบรมเพื่อปรับปรุงพัฒฯคนให้มีความสามารถสูงขึ้น อันจะมีผลดีในการทำงานให้ดีขึ้น ผู้บริหารหรือผู้นำต้องมีความรู้ในการบริหารคนสามารถสอนพัฒนาคนให้มีลักษณะที่ดีขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น